ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ...นางสาวอนุษรา แก้วทำในรายวิชา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ผู้เข้าชมเว็บบล็อกสามารถดูรายละเลียดและเพิ่มเติมเนื้อหา ของตัวเองเพื่อการศึกษาได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 
จิตวิทยาการเรียนการสอน
    
จิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
     จิตวิทยาการเรียนการสอน มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล  ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนอันมุ่งการศึกษาการเรียนรู้ และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์คือ กระบวนการคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษา เช่น การรับรู้ อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม และรูปแบบความสำพันธ์ระหว่างบุคคล
       ความเป็นมาของจิตวิทยา
        คำว่า จิตวิทยา แปลมาจาก psychology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “psyche” หมายถึงวิญญาณ ส่วน logos หมายถึง การศึกษาเล่าเรียน จากคำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่า เดิมที่เดียวจิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือเรื่องลึกลับ ต่อมานักปราชญ์ให้ความหมายของ psyche ว่า หมายถึง จิต ดังนั้น วิชาจิตวิทยาจึงเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องจิต
        แนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
         จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยของมนุษย์เป็นศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน จากการที่ต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ในลักษณะองค์รวม ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการถือเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษา ช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในช่วงวัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต และทราบถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ส่งผลให้ผู้ศึกษาเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่าง ๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
     ภาษาทางจิตวิทยา
     จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา
    ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา
     จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
    1. จิตวิทยา (Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
    2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆซึ่งอาจแบ่งเป็น  จิตวิทยาเด็ก  จิตวิทยาวัยรุ่น  จิตวิทยาผู้ใหญ่
    3. จิตวิทยาสังคม (SocialPsychology) เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษย์วิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
   4. จิตวิทยาปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
   5.จิตวิทยาประยุกต์ (AppliedPsychology) เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
  6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
 7. จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา
     จุดมุ่งหมายของการศึกษาจิตวิทยา
   1. ทำความเข้าใจพฤติกรรม (understanding behavior) โดยพยายามศึกษาว่ามนุษย์คิด รู้สึก และทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ และอะไรเป็นสาเหตุให้เขาทำเช่นนั้น นักจิตวิทยาจะพยายามรวบรวมข้อมูลอย่างระมัดระวัง ด้วยการสังเกต บันทึกอย่างละเอียดประกอบกับการใช้กลวิธีอื่น ๆ จนกระทั่งเข้าใจพฤติกรรมอย่างถ่องแท้ และสามารถสรุปสาเหตุการเกิดพฤติกรรมนั้นได้ เช่น นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อมาเข้าสอบไม่ทันเวลา ในวันแรกของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และทำไมเขาจึงมาเข้าสอบไม่ทันจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ และสาเหตุอาจมีหลายประการประกอบกัน
   2. การพยากรณ์ (prediction) หมายถึง การทำนายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดหรือไม่เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ ภายใต้สภาวการณ์หนึ่ง ๆ เช่น นักเรียนเดินทางมาเข้าห้องสอบไม่ทันเพราะการจราจรติดขัด จึงพยากรณ์ว่าถ้านักเรียนเข้าสอบในสนามสอบใกล้บ้าน นักเรียนจะเดินทางมาสอบทันเวลา การพยากรณ์เป็นผลของการความเข้าใจเมื่อมีความเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมปัจจุบัน ก็ย่อมจะสามารถพยากรณ์พฤติกรรมในอนาคตได้
   3. การควบคุมพฤติกรรม (control) หมายถึง การวางแผนควบคุมพฤติกรรมที่ต้องการและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าการพยากรณ์ถูกต้องการควบคุมก็ย่อมจะได้ผล พฤติกรรมมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่านี้ พฤติกรรมส่วนมากไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียว แนวความคิดในการอธิบายพฤติกรรมก็แตกต่างกัน ตามมุมมองของนักจิตวิทยาในแต่ละกลุ่ม
       ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน
       เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
             -พฤติกรรม (Behavior)
             -การกระทำ (Acts)
             -กระบวนการคิด (Mental process) ไปพร้อมกับการศึกษาเรื่อง สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง (Selfconcept)ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วย
      ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
    1. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานราชการ การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ  ฯลฯ
    2. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา  จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า  การเล่นคืออะไร  และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน    ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์  การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า ๆ กับกำลังกาย  ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง ๆ  สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น  จิตวิทยาของคนดูกีฬา  ดูละคร  หรือฟังปาฐกถา  ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา  ผู้แสดงละคร   หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
    3.จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น    ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่  ๓ ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม  (ก)  ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี  (ข)  ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น (ค)  นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา  และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ  ของผู้อื่น  เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก  (ATTITUDE)   และอารมณ์อย่างไร
    4. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์ (CHARACTER) ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
    5.จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน  การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ  กับเป็นปัญหาทางกฎหมาย  ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ  เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน   และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง ๆ  บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ  เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การของเด็กมีน้ำหนัก    การลงโทษจำเลยก็ต้องถือเอาเหตุจูงใจ   (MOTIVE)   เป็นเกณฑ์  การออกกฎหมายในรัฐสภา  มีเรื่องที่จะต้องนึกถึงในด้านจิตวิทยาของประชาชนไม้น้อย  เพราะจิตของ  กลุ่มชน   ไม่ใช่จิตของอัตบุคคล  (INDIVIDUAL)   ทัณฑวิทยาใช้จิตวิทยามากที่สุดในการอบรมแก้ไขนักโทษให้กลับคือเป็นพลเมืองดี   ชีวะวิทยาได้ทดลองให้เห็นแจ้งแล้วว่า   นิสัยของบรรพบุรุษใกล้    ไม่เป็นมรดกตกทอดทางสายโลหิตมาถึงลูกหลาน  ลูกโจรไม่จำเป็นต้องรับนิสัยโจรมาจากพ่อ  ถ้าพ่อไม่ได้เป็นผู้อบรม  นอกจากการเป็นโจรของพ่อเกิดจากความผิดปรกติทางสรีระวิทยาซึ่งอาจส่งผ่านสายโลหิตมาถึงลูกได้  เพราะฉะนั้นในทางทัณฑวิทยาเราจึงถือว่า  การให้การศึกษาใหม่ย่อมแก้นิสัยชั่วได้เสมอ
     6.  จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์  และการโฆษณาชวนเชื่อ  (PROPAGANDA)   การโฆษณาที่มีศีลธรรมเป็นกุศโลบายที่พ่อค้าใช้เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงคุณสมบัติ  ลักษณะ  และที่จำหน่ายของสินค้าที่จะขาย  และในเวลาเดียวกันชักชวนให้ประชาชนมาซื้อสินค้านั้น  คติของการโฆษณามีอยู่ว่า  ผู้โฆษณาต้องไม่กล่าวเท็จ  จิตวิทยาให้แต่เพียงหลักของการใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจชักชวน   หลักของการใช้สีให้เป็นที่ชวนตาให้มอง  หลักของการวางแบบให้จำง่ายและนาน  และหลักการลงซ้ำเพื่อกันลืม  การโฆษณาเพื่อขายสินค้าเป็นธุระกับเอกชน  แต่การประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อซึ่งมักเป็นงานของรัฐเป็นธุระกับมวลชน  และไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพราะไม่ว่ามวลชนจะมีสภาพเป็นอย่างไร  ประโยชน์ของชาติต้องยิ่งใหญ่กว่าเสมอ   ในการโฆษณาเพื่อขายสินค้า  ผู้โฆษณาต้องหาลักษณะกลาง ๆ  ของมวลชน  เพื่อเสนอเรื่องราวของสินค้าให้ถูกใจเอกชนให้มากคนที่สุด
      ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา
      เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว
         บทสรุปของจิตวิทยา
         สิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของมนุษย์ที่เรี่ยกว่ากระบวนการทางจิต สามารถอธิบายพฤติกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงปรารถนาให้ลดลงหรือหมดไป และเพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ